PraKrueng.com

สมาชิกเข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน  
รหัสผ่าน  
ลืมรหัสผ่าน สมัครสมาชิก
หน้าแรก รายการพระเครื่อง ร้านพระเครื่อง ประมูลพระเครื่อง ลงประกาศฟรี การชำระเงิน ติดต่อเรา
สมัครสมาชิกฟรี คลิกที่นี่
พระกรุ [111]
พระเหรียญ [6258]
พระเนื้อผง/ดิน [2169]
พระรูปหล่อ [772]
พระบูชา [125]
พระเนื้อชิน [11]
เครื่องรางของขลัง [434]
ล็อกเก็ต [69]
พระปิดตา [181]
อื่นๆ [65]
ผู้เข้าชมทั้งหมด [20084467]
สมาชิกทั้งหมด [416]
ร้านพระเครื่องทั้งหมด [259]
พระเครื่องทั้งหมด [10195]
ประมูลทั้งหมด [25]
ลงประกาศฟรีทั้งหมด [1499]
วิธีการประมูล
ราคา Bid Card
สนใจลงโฆษณาคลิกที่นี่

ค้นหา พระเครื่อง ร้านพระเครื่อง ประมูลพระเครื่อง ลงประกาศฟรี
Arrow เหรียญพระพุทธสีหนาท วัดสุทธจินดา พ.ศ.๒๔๗๗
เหรียญพระพุทธสีหนาท วัดสุทธจินดา พ.ศ.๒๔๗๗

เหรียญพระพุทธสีหนาท

วัดสุทธจินดา พ.ศ.๒๔๗๗

               

              ในแวดวงพระเครื่องและเรื่องเหรียญคณาจารย์ของจังหวัดนครราชสีมายังมีเหรียญเก่ายอดหายากอยู่ ๖ เหรียญ อันได้แก่เหรียญต่อไปนี้ คือ

๑.       เหรียญหลวงพ่อพรหมสร (รอด) รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๙๒ มีโค๊ตตอกตัวอาร์

๒.     เหรียญพระครูธวัชชัยคุณมุนี พ.ศ.๒๔๖๕

๓.     เหรียญท้าวสุรนารี (โม) พ.ศ.๒๔๗๗

๔.     เหรียญพระครูญาณวิศิษฎ์ (สิงห์ ขันตยาคโม) รุ่นมีประภามณฑลรอบ

๕.     เหรียญพระครูพรหมสมาจารย์ (หริ่ง) วัดประดู่ (ตะบอง)

๖.      เหรียญพระพุทธสีหนาท วัดสุทธจินดา พ.ศ.๒๔๗๗

“เหรียญพระพุทธสีหนาท วัดสุทธจินดา” สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ จึงมีอายุการสร้างมานานร่วม ๖๐ ปี เป็นเหรียญรูปกลม หูเชื่อม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๓ เซนติเมตร เนื้อเหรียญทองแดง บางเหรียญมีกะไหล่ทอง หรือบางเหรียญเป็นกะไหล่เงินมาแต่เดิมนอกจากนี้ยังมีเหรียญเงินบ้างเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหายากมากที่สุด

“เหรียญพระพุทธสีหนาทวัดสุทธจินดา” จ.นครราชสีมา รุ่นแรกนี้ จัดเป็นเหรียญพระพุทธ หมายถึง เหรียญที่สร้างขึ้นเป็นรูปพระพุทธปฏิมา ด้านหน้าของตัวเหรียญ นั่นคือ “พระพุทธสีหนาท” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเมืองนครราชสีมา ที่มีผู้เคารพสักการะกันมากที่สุดองค์หนึ่ง

                ด้านหลังของเหรียญ ริมขอบนอกมีตัวอักษรไทยเป็นตัวนูนอ่านว่า “งานสมโภชวัดสุทธจินดา” อยู่เบื้องบน

                เบื้องล่างมีตัวอักษรไทย เป็นตัวนูนอ่านว่า “นครราชสีมา พ.ศ.๒๔๗๗” ตัวอักษรฝีมืองดงามยิ่งนัก สมกับที่เป็นเหรียญหลักของเมืองโคราช

                ตรงกลางเหรียญเป็นยันต์สี่เหลี่ยมอยู่กลางรอบ ๆ มียันต์รูปดอกไม้ในกลีบดอกใส่หัวใจอยู่ทั้งสี่มุม เรียงล้อมรอบสี่ทิศ เป็นหัวใจอริยสัจสี่ อ่านว่า ทุ สะ นิ มะ ส่วนตรงกลางมีอักขระขอมเป็นตัว “เฑาะว์” ช่วยเน้นน้ำหนักยันต์ให้ขมังความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น บรรดาศิษยานุศิษย์สายเจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) หรือ สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปรมาจารย์ทางด้านวิปัสสนา กัมมัฏฐานที่มีศิษย์ ๑๐๘ องค์ก็ล้วนแค่เคยมานั่งปรก บริกรรมปลุกเสกเหรียญพระพุทธสีหนาท วัดสุทธจินดา รุ่นแรกนี้เป็นส่วนใหญ่ เหรียญนี้จึงย่อมมีพุทธคุณสูงดีเด่นเป็นที่น่าเสาะแสวงหาไว้บูชาติดตัวอย่างยิ่ง

                “พระพุทธสีหนาท” นั้นเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมาเป็นพระพุทธรูปทองหล่อขัดเงาไม่ปิดทอง ปางมารวิชัย,นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ ข้างซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหันถ์ขวาคว่ำลงที่พระชานุ,นิ้วชี้พระธรณีมีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๔๕ เมตร ส่วนสูงวัดจากทับเกษตรถึงยอดพระรัศมีสูง ๑.๘๓ เมตร ปัจจุบันนี้ยังคงประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดสุทธจินดา เปิดให้ประชาชนเข้าไปนมัสการบูชาสักการะได้ตลอดเวลา

                ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) ซึ่งขณะนั้น (พ.ศ.๒๔๗๗) เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ก็ได้แจกเหรียญนี้แก่ลูกศิษย์ และประชาชนในกรุงเทพมหานคร ขณะเดียวกัน ท่านเจ้าคุณพระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) ซึ่งกำลังเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา ก็ได้แจกจ่ายเหรียญนี้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์ และพ่อค้าแม่ค้าประชาชนที่มาทำบุญตลอดจนบุตรหลานชาวโคราช บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และจังหวัดใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก

                อนึ่ง ทางการได้ทำพิธีเปิดสาขาหอสมุดแห่งชาติขึ้นที่วัดสุทธจินดา เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ และต่อมาไม่นานนัก ก็เปิดพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) ขึ้นในวัดสุทธจินดา ครั้งนั้นได้นำเหรียญพระพุทธสีหนาท วัดสุทธจินดา รุ่นแรก และเหรียญท้าวสุรนารี (โม) รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๗๗ นำมาจ่ายแจกประชาชนทั่วไปอีกวาระหนึ่ง คาดว่าอย่างละนับพันเหรียญทีเดียว

                พุทธคุณดีเด่นของเหรียญรุ่นแรก

                เหรียญพระพุทธสีหนาท สร้างขึ้นในงานสมโภช วัดสุทธจินดา เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ และออกเหรียญไล่เรี่ยพร้อมกับเหรียญท้าวสุรนารี (โม) พ.ศ.๒๔๗๗ จึงทำให้ชาวโคราชนิยมชมชอบเหรียญทั้งสองนี้ยิ่งนักและมักจะใช้บูชาคู่กันเสมอเพราะเชื่อว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เป็นผู้ปลุกเสกโดยตรงนอกจากนี้ ยังมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นมาร่วมเข้าพิธีปลุกเสกในอุโบสถวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมาด้วย ดังอาทิเช่น

๑.       สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมมฺธโร) เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน

๒.     พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เจ้าอาวาสองค์ที่สองต่อจากท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน)

๓.     พระเทพวรคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดมณี ชลขัณฑ์ ตลาดท่าโพธิ์ จังหวัดลพบุรี

๔.     พระครูญาณวิศิษฏ์ (สิงห์ ขันตยาคโม) เจ้าของเหรียญพระครูญาณ วิศิษฏ์ (สิงห์) รุ่นมีประภามณฑลรอบ อันลือชื่อ

๕.     บรรดาศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริฑัตโต ปรมาจารย์ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานซึ่งมีศิษย์ ๑๐๘ องค์ รวมทั้งพระอาจารย์ทองบัว แห่งวัดโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๑๐๘ องค์ดังกล่าว

๖.      ศิษยานุศิษย์ สายทานเจ้าพระคุณพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส

 
เมื่อ 3 เมษายน 2556 เข้าชม 4659 ครั้ง
 
หน้าแรก | รายการพระเครื่อง | ประมูลพระเครื่อง | วิธีการประมูล | ราคา BID CARD | อัตราค่าพื้นที่โฆษณา | เว็บเพื่อนบ้าน

สนใจลงโฆษณาคลิกที่นี่
Copyright 2013© www.prakrueng.com
ศูนย์รวมร้านพระเครื่องมาตรฐาน
ที่อยู่ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
โทร. -
Email webmaster@prakrueng.com